ความไม่สงบในทิเบต พ.ศ. 2551

ความไม่สงบในทิเบต พ.ศ. 2551 หรือเรียกชื่อจีนว่า การจลาจล 3•14 เป็นชุดการจลาจล ประท้วงและเดินขบวนที่เริ่มในกรุงลาซา เมืองหลวงของภูมิภาคทิเบต[1] และลามไปพื้นที่อื่นของทิเบตและอารามจำนวนหนึ่งซึ่งรวมนอกเขตปกครองตนเองทิเบต แรกเริ่มเป็นการจัดวันการก่อการกำเริบทิเบตประจำปีแล้วลงเอยด้วยการประท้วงตามถนนโดยพระสงฆ์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นการจลาจล การเผา การปล้นสะดมและการฆ่าชาติพันธุ์ในวันที่ 14 มีนาคม[2] ชาวทิเบตที่เข้าร่วมความไม่สงบมุ่งความรุนแรงส่วนใหญ่ไปยังพลเรือนฮั่นและหุย[3] ตำรวจแทรกแซงโดยป้องกันมิให้ความขัดแย้งบานปลายอีก ขณะเดียวกันและเพื่อเป็นการสนอง การประท้วงที่ส่วนใหญ่สนับสนุนชาวทิเบตอุบัติในนครในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป มีการโจมตีสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลจีน 18 แห่ง[4]จากข้อมูลของฝ่ายปกครองจีนที่ปกครองทิเบต ความไม่สงบนี้มีเหตุจูงใจจากคตินิยมการแยกตัวออกและทะไลลามะเป็นผู้สั่งการ[5] ทะไลลามะปฏิเสธข้อกล่าวหาและกล่าวว่าสถานการ์เกิดจากความไม่พอใจอย่างกว้างขวางในทิเบต[6] รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะไลลามะจัดการเจรจาเรื่องการจลาจลในวันที่ 4 พฤษภาคมและ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[7]ระหว่างการจลาจล ทางการจีนไม่อนุญาตให้สื่อต่างชาติและฮ่องกงเข้าภูมิภาค[8] สื่อในประเทศลดทอนความสำคัญของการจลาจล มีเพียงเจมส์ ไมลส์ ผู้สื่อข่าวจากดิอีโคโนมิสต์ ได้รับอนุมัติให้เดินทางหนึ่งสัปดาห์ซึ่งปรากฏว่าสอดคลองกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นพอดี[9] จากข้อมูลของไมลส์ การสนองของตำรวจปราบจลาจลนั้นสงบ แต่กลุ่มผู้พลัดถิ่นทิเบตอ้างว่ามีการปราบปรามอย่างโหดร้าย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความไม่สงบในทิเบต พ.ศ. 2551 http://www.economist.com/world/asia/displaystory.c... http://www.nytimes.com/2008/03/16/world/asia/16iht... http://www.reuters.com/article/worldNews/idUSPEK26... http://www.voanews.com/english/archive/2008-03/Mar... http://online.wsj.com/public/article/SB12078127445... http://www.thestandard.com.hk/news_detail.asp?pp_c... http://www.china-embassy.org/eng//zt/zgxz/t420556.... http://www.hrw.org/en/reports/2008/07/06/china-s-f... http://www.webcitation.org/5hDZPW3YJ https://web.archive.org/web/20080408113253/http://...